อาการมือสั่น ปากสั่นเป็นโรคอะไรได้บ้างลองอ่านดู ๑. อาการมือสั่นไม่ทราบสาเหตุในคนสูงอายุซึ่งสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ คนไข้จะมีอาการมือสั่นเวลาตั้งใจทำอะไร และหยุดสั่นเวลาอยู่นิ่งๆ (ตรงข้ามกับโรคพาร์กินสันที่จะสั่นเวลานิ่งๆ) และแขนขาไม่เกร็ง เคลื่อนไหวได้ปกติ ๒. คอพอกเป็นพิษ จะมีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น เหงื่อออกมาก น้ำหนักลดฮวบฮาบ มือสั่นขณะเหยียดแขนตรงไปข้างหน้า และกางนิ้วมือออก ๓. อารมณ์เครียด วิตกกังวล ๔. ดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มผสมกาเฟอีน หรือกินยาแก้หอบหืดบางประเภท ๕. งดเหล้าในคนที่ติดเหล้า ส่วนอาการแขนขาเกร็ง เคลื่อนไหวลำบาก นอกจากโรคพาร์กินสันแล้ว ยังอาจเกิดจาก ๑. โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ จะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนขาซีกใดซีกหนึ่ง ในขณะที่โรคพาร์กินสันแขนขามักจะเคลื่อนไหวลำบากจาก อาการเกร็ง แต่กล้ามเนื้อยังแข็งแรงเป็นปกติทุกส่วน ๒. โรคข้อเสื่อม จะมีอาการข้อติด หรือปวดตามข้อเวลาเคลื่อนไหวไปมา โดยที่กล้ามเนื้อไม่เกร็ง การวินิจฉัย มักจะวินิจฉัยจากอาการแสดง ได้แก่ อาการสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า ในรายที่สงสัยเกิดจากโรคทางสมอง แพทย์อาจทำการตรวจพิเศษ เช่น การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG), การถ่ายภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) […]
อาการ ปากสั่นมือสั่นจะค่อยๆ เกิดรุนแรงขึ้นทีละน้อย กินเวลาเป็นแรมปี คนไข้จะมีอาการสั่น เกร็ง และเคลื่อนไหวเชื่องช้า ซึ่งจะค่อยๆ เกิดรุนแรงขึ้นทีละน้อย กินเวลาเป็นแรมปี ร้อยละ ๖๐-๗๐ ของคนไข้จะมีอาการสั่นเป็นอาการเริ่มต้นของโรค คนไข้จะมีอาการมือสั่น (บางคนสั่นแบบปั้นลูกกลอน) ขาสั่น บางคนอาจมีอาการหัวสั่น ปากสั่น คางสั่นร่วมด้วย โดยสั่นในอัตราประมาณวินาทีละ ๔-๘ ครั้ง มีลักษณะเฉพาะ คือ สั่นมากเวลาอยู่นิ่งๆ แต่เวลาเคลื่อนไหว หรือใช้มือทำอะไร จะสั่นน้อยลงหรือหยุดสั่น ระยะแรกอาจมีอาการเกิดขึ้นข้างเดียวก่อน ต่อมาจึงมีอาการพร้อมกันทั้ง ๒ ข้าง ต่อมาคนไข้จะมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ แขน ขาและลำตัว ทำให้คนไข้รู้สึกปวดเมื่อย (โดยที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนักแต่อย่างใด) จนบางคนต้องกินหรือทายาแก้ปวดเมื่อยหรือหาคนมาบีบนวด หรือไปปรึกษาแพทย์โรคกระดูกและข้อ คนไข้จะมีอาการเคลื่อนไหวเชื่องช้า ในระยะแรกจะรู้สึกว่าตัวเองทำอะไรช้าลงจากเดิมมาก เช่น ลุกจากเก้าอี้ลำบาก พลิกตัวบนที่นอนลำบาก ออกก้าวเดินหรือหันตัวหรือหยุดเดินลำบาก มักเดินเชื่องช้า งุ่มง่าม คนไข้จะมีลักษณะท่าเดินจำเพาะตัว คือ ก้าวสั้นๆ แบบซอยเท้าในช่วงแรกๆ และต่อมาจะก้าวยาวขึ้นเรื่อยๆ จนเร็วมากและหยุดทันทีทันใดไม่ได้ จะล้มหน้าคว่ำ นอกจากนี้ยังมีลักษณะ […]
คนที่จะมีอาการ ปากสั่นมือสั่น ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุ โดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด คนไข้จะมีการลดลงของจำนวนเซลล์สมองส่วนที่สร้างสารโดพามีน (เรียกว่า เซลล์ประสาทสีดำ หรือ substantia nigra ซึ่งอยู่ในส่วนลึกของก้านสมอง) เป็นเหตุให้สมองพร่องสารโดพามีน ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดอาการเคลื่อนไหวช้า เกร็ง และสั่น ในปัจจุบันยังไม่ทราบว่าอะไรทำให้เกิดความผิดปกติของเซลล์สมองส่วนดังกล่าว และไม่อาจพยากรณ์ได้ว่าใครบ้างที่อาจกลายเป็นโรคนี้ เมื่อย่างเข้าวัยสูงอายุ ส่วนน้อยอาจพบว่ามีสาเหตุแน่ชัด เช่น ภาวะหลอดเลือดสมองตีบ (พบในคนไข้เบาหวาน ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง คนที่สูบบุหรี่จัด ผู้สูงอายุ), สมองขาดออกซิเจน (ในคนที่จมน้ำ ถูกบีบคอ เมื่อมีภาวะอุดกั้นของทางเดินหายใจ), ศีรษะได้รับบาดเจ็บหรือกระทบกระเทือน (อาจพบได้ในนักมวย), ไข้สมองอักเสบ, เนื้องอกสมอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจพบร่วมกับการใช้ยาทางจิต ประสาท (เช่น ฟีโนไทอาซีน, ฮาโลเพอริดอล) หรือยาลดความดัน (เช่น รีเซอร์พีน, เมทิลโดพา) ซึ่งขัดขวางการทำงานของสารโดพามีน และอาจพบในคนที่ถูกสารพิษ (เช่น แมงกานีส, ไซยาไนด์, เมทานอล, ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์) ซึ่งทำลายเซลล์สมอง โรคนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะตัว ไม่ใช่โรคติดต่อ และไม่ใช่โรคทางพันธุกรรม […]