ของกินหน้าร้อน

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง

ถั่วเหลือง สารอาหารที่พบในเลซิตินจากถั่วเหลืองอันประกอบของเซลล์เมมเบรน (Cell Membrane) ที่พบในเซลล์ประสาท มีบทบาทสำคัญเกี่ยวข้องกับความจำ กระบวนการเรียนรู้และแก้ปัญหา การเสริมฟอสฟาทิดิลซีรีนจากเลซิตินในถั่วเหลือง วันละ 300 มิลลิกรัม ช่วยเพิ่มความจำ ความสารถในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ช่วยลดความดันโลหิตในเลือด สามารถช่วยให้ความจำดีขึ้น และช่วยชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

ของกินแก้ร้อน Up the brain 2017

เฉาก๊วยโกโก้

หน้าร้อนมาถึงแล้ว หาของกินแก้ร้อนให้อร่อยเย็นใจเย็นกาย และกินแล้วต้องไม่ทำให้มีอาการปวดหัวตัวร้อน รับรองว่ากินแล้วไม่มีอาการดังที่กล่าวมาอย่างแน่นอน สบายใจหายห่วง ดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน  แต่ของกินบางอย่าง บางคนอาจจะแพ้ก็ต้องเลี่ยงน่ค่ะอย่าฝืน     มะเฟือง ช่วยลดอุณหภูมิความร้อนภายในร่างกาย ปวดศีรษะ บรรเทาอาการไอ และนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ แต่ไม่เหมาะกับคนป่วยโรคไต แตงไทย ดับกระหาย ลดความร้อนในร่างกาย ขับปัสสาวะ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ  กระเจี๊ยบ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ ลดความดันโลหิต บรรเทาอาการไอ วิธีทำชากระเจี๊ยบแดง สับดอกกระเจี๊ยบแดงเป็นชิ้นเล็ก ๆ คั่วในกระทะจนแห้งกรอบ เตรียมไว้ เวลาดื่มให้ใส่ลงในแก้ว เทน้ำร้อนใส่ลงไป ชงดื่มเป็นชา (หรือนำไปใส่ในกาสำหรับชงชา) แช่ทิ้งไว้สักครู่ บีบน้ำมะนาว หรือฝานชิ้นเลมอนลงไปเพื่อเพิ่มรสชาติ หากต้องการความหวานก็เติมน้ำตาลทรายลงไปตามความชอบ สิ่งที่ต้องเตรียม ดอกกระเจี๊ยบแดงตากแห้ง มะนาว หรือเลมอนฝานเป็นชิ้น ๆ น้ำตาลทราย (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ตามชอบ)   เครื่องดื่มเย็นๆ เหมาะอย่างยิ่งกับสภาพอากาศ ณช่วงเดือนเมษายน อย่างนี้ เช่น เฉาก๊วยโกโก้   กินแล้วชื่นใจช่วยดับกระหาย […]

5 ชนิดอาหารต้านมะเร็ง

อาหารหลากหลายชนิดจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และมีส่วนช่วย ต้านมะเร็ง ได้ แต่มีอาหารเพียงไม่กี่อย่างที่จัดว่าเป็น อาหารชั้นเยี่ยม ในการ ต้านมะเร็ง มีการศึกษาถึงศักยภาพของผัก-ผลไม้ ในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งกันมาก มีรายงานว่าการบริโภคผัก-ผลไม้โดยเฉพาะผักตระกูลกระหล่ำ และผัก-ผลไม้ สีเขียวและเหลืองช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งระบบทางเดินหายใจ และมะเร็งระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเราสามารถหากินได้ในตลาดสดบ้านเราได้อย่างสบายๆ 1. แคโรทีน (carotene) เป็นสารเคมีที่พบมากในผักผลไม้ที่มีสีแดง ส้ม เหลือง และเขียว หากร่างกายได้รับสารนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์จะเกิดการสะสมและทำให้ตับทำงานหนัก เนื่องจากต้องขับสารแคโรทีนอยด์ออกจากร่างกายอยู่ตลอดเวลา และจะทำให้ผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้มโดยเฉพาะที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ป้องกันได้โดยเพียงหยุดกิน ร่างกายจะค่อยๆ ปรับสภาพและกลับมาเป็นปกติ พืชที่มีแคโรทีนมาก 10 อันดับ 1.) แครอท 2.) มะเขือเทศ 3.) มะละกอ 4.) พริก 5.) แตงโม 6.) ส้ม 7.) ผักบุ้ง 8.) ตำลึง 9.) กล้วยไข่ 10.) ฟักทอง 2. กระเทียม […]

สาหร่ายพวงองุ่น ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้จริงหรือ!!!

สาหร่ายพวงองุ่น ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้จริงหรือ!!! ชื่อภาษาอังกฤษคือ sea grapes หรือ green cavier มันคือสาหร่ายทะเลที่เกิดตามธรรมชาติแถบโอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น และในประเทศฟิลิปปินส์ ในไทยเรียกว่าสาหร่ายพริกไทย สาหร่ายชนิดนี้ไม่มีรสชาติแต่จะรู้สึกถึงความกรอบพิเศษภายในชุ่มฉ่ำไปด้วยน้ำ สาหร่ายสีเขียวชนิดหนึ่ง มีลักษณะโดยทั่วไป ทัลลัสประกอบด้วยสโลอนที่คืบคลานไปตามพื้นและแตกแขนงได้ ส่วนของแขนงที่ตั้งตรงสูง 1-6 ซม. มักเกิดเดี่ยวๆ ไม่ค่อยแตกแขนง ประกอบด้วยรามูลัสเล็กๆลักษณะกลมเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 1.5-2 มิลลิเมตร มีก้านสั้นๆ เรียงกันคล้ายช่อพริกไทย แต่ละรามูลัสมีรอยคอดระหว่างก้านและส่วนที่เป็นเมล็ดกลมสีเขียวใส ส่วนที่คล้ายลำต้นเกาะยึดคืบคลานบนพื้น   เมนูอาหารที่ทำจากสาหร่ายพวงองุ่นมีเมนูเด็ดอะไรบ้างนั้น ก็ได้รับตำตอบที่ว่าตอนนี้มีเมนูสาหร่ายช่อพริกไทยเด่นๆ อยู่ 2 เมนู คือ 1. ส้มตำสาหร่าย 2. ทำเป็นกรีนคาเวียร์ ก็คือ คาเวียร์สีเขียว ซึ่งปกติจะเคยกินกันแต่คาเวียร์ที่มาจากไข่ปลาสเตอร์เจียนเป็นเม็ดๆ ซึ่งคาเวียร์สีเขียวที่ว่านี้ก็เป็นเม็ดๆ เหมือนกัน แต่ว่ามาจากสาหร่าย โดยการปรุงเมนูกรีนคาเวียร์ ก็คือ มีขนมปัง ไข่ เนื้อกุ้ง ใส่ซอสมายองเนสนิดหน่อย และก็โรยหน้าด้วยสาหร่ายช่อพริกไทย เป็นเมนูเด็ดที่ชวนลิ้มลอง นอกจากจะได้ความอร่อยแล้วยังกินดีต่อสุขภาพด้วย สาหร่ายพวงองุ่นมีคุณค่าทางอาหารมากมาย […]

อาหารต้องห้าม 9 อย่าง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจทำอันตรายต่อลูกน้อยและทำให้คุณแม่ป่วย ดังนั้น ความปลอดภัยของอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆ โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ อาหารที่ดีสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ต้องมีการปนเปื้อนน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ยุคนี้อาจจะต้องทำใจเพราะของที่ปนเปื้อนเยอะเหลือเกิน สำหรับคนทั่วไปแม้จะมีสารปนเปื้อนตกค้างในร่างกายบ้างก็คงไม่เป็นไร เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายยังทำงานได้ดี แต่สำหรับทารกในครรภ์ไม่สามารถคัดสิ่งที่เป็นสารพิษกับร่างกายได้ ได้แต่รับอย่างเดียว ความหวังจึงอยู่ที่คุณแม่อย่างเดียว 1. อาหารกระป๋อง เป็นอาหารสะดวกซื้อสำหรับคุณแม่ยุคใหม่ แต่อย่าลืมว่าอาหารกระป๋อง ไส้กรอก หมูแฮม แหนม ลูกชิ้น ฯลฯ ล้วนมีผงชูรส บอแรกซ์ โซเดียมไนเตรต โซเดียมฟอสเฟต โซเดียมซัคคาริน และโซเดียมตัวอื่นๆ เช่น ผงฟู หากราคาถูกเนื้อที่ใช้มักเป็นเกรดต่ำ และอาหารเหล่านี้มีคุณค่าด้อยกว่าอาหารสด ดังนั้นการผลิตอาหารกระป๋องขึ้นมาเพื่อช่วยลดความขาดแคลนอาหารในบางฤดูกาลและช่วยให้ผลิตผลทางการเกษตรไม่ล้นตลาด โรงงานผลิตอาหารกระป๋องมีเป็นจำนวนมากในปัจจุบันนี้ซึ่งบางแห่งผลิตไม่ได้มาตราฐานเท่าที่ควรและนำออกมาจำหน่ายในท้องตลาดซึ่งอาจเกิดอันตราย แก่ผู้บริโภคได้เพราะอาหารบางชนิดเมื่อผลิตไม่ได้มาตรฐานแล้วจะทำให้อาหารในกระป๋องนั้นเกิดการบูดเสียเก็บไว้ไม่ได้นานหรือผู้ผลิตบางรายอาจนำส่วนผสมของสารบางชนิดซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 2. น้ำอัดลม ส่วนน้ำอัดลมประกอบไปด้วยน้ำและน้ำตาล บางชนิดมีคาเฟอีนเหมือนที่มีอยู่ในกาแฟ ให้ความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า เพิ่มพลังงานจากน้ำตาล แต่ไม่มีคุณค่าทางสารอาหาร ถ้าดื่มมากๆ ก็มักจะทำให้อ้วน จึงควรหลีกเลี่ยงไปดื่มน้ำผลไม้จะมีประโยชน์มากกว่า ในน้ำอัดลมมีกรดคาร์บอนิกในน้ำอัดลม ซึ่งเป็นกรดที่ทำให้น้ำอัดลมมีฟอง ซ่า กรดคาร์บอนิกนั้นสามารถย่อยมีฤทธิ์กัดกร่อยย่อยสลายหินปูนได้ ฉะนั้นกรดคาร์บอนิกจึงสามารถทำให้ฟันผุและกระดูกพรุนได้เช่นกัน   3. ของหมักดอง ยามแพ้ท้อง คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคน […]

“หมูกรอบ” กรอบ อร่อย แต่แฝงไปด้วยภัยอันตราย

   “หมูกรอบ” กรอบ อร่อย ภัยอันตรายต่อสุขภัย อาหารมากมายหลากหลายชนิดที่วางขายตามท้องตลาด ล้วนแต่ล่อตาล่อใจและชวนให้เรารู้สึกอยากรับประทานกันอยู่ไม่น้อย ถึงแม้จะรู้ว่ากินมาก ๆ แล้วก็อาจจะทำให้อ้วน หรืออาจจะส่งผลเสียสุขภาพก็ตาม โดยเฉพาะอาหารทอด ที่เต็มไปด้วยน้ำมันอย่างหมูกรอบที่บอกได้เลยว่านอกจากแคลอรีที่สูงปรี๊ดแล้ว ถ้ารับประทานเป็นประจำก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ นำพาเอาความเสี่ยงโรคภัยต่าง ๆ หนึ่งในอาหารที่เป็นที่นิยมของคนไทยคือ “หมูกรอบ” ไม่ว่าจะเป็นข้าวหมูกรอบ หมูกรอบผัดพริกแกง หมูกรอบผัดกะเพรา หมูกรอบผัดพริกขิง ก๋วยจั๊บใส่หมูกรอบ และอื่นๆ จากข้อมูลของสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธาณสุข ระบุว่าพลังงานจากหมูกรอบ 100 กรัม (7-10 ชิ้นคำ) ให้พลังงานประมาณ 385 -420 แคลอรี่ไขมัน 30 กรัม โดยหากเป็นข้าวหมูกรอบพลังงานก็จะเพิ่มขึ้น เป็น 550-600 แคลอรี่ และหากเป็นเมนูหมูกรอบที่มีการนำไปผัดกับน้ำมันก็จะทำให้ยิ่งเพิ่มพลังงานมากขึ้น  ยิ่งถ้าหากน้ำมันที่ใช้ทอดเป็นน้ำมันที่ผ่านการใช้ซ้ำมาแล้ว ก็จะยิ่งทำให้เสี่ยงกับการได้รับสารพิษที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างไขมัน อาทิ สารโพลาร์ที่เป็นตัวก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็งในระบบทางเดินอาหาร โรคหัวใจและหลอดเลือด ขณะที่ไอของน้ำมันที่ทอดซ้ำก็ยิ่งซ้ำเติมให้เกิดปัญหาสุขภาพ อันเนื่องมาจากสารโพลีไซคลิก โฮโดรคาร์บอนด์ (PAHs) ที่มีพิษร้ายแรงเช่นเดียวกับควันจากรถยนต์ ไฟจากการหุงต้ม […]