สูบอากาศดีๆ กับ 10 สวนสาธารณะ กทม

สวนสาธารณะกว้างๆ พื้นที่สีเขียวๆ ที่ผู้คนปรารถนา ไว้พักผ่อน ออกกำลังยามเช้า หรือตอนเย็น แน่นอนชีวิตของคนกรุงนอกจากจะเจอ มลภาวะทางอากา เสียง ที่ทำลายสุขภาพเช่นทุกวันนี้ สิ่งที่ผู้คนปรารถนาคือ การมีสุขภาพแข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัย ดังนั้นสวนสาธารณะจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อผู้คนในเมืองใหญ่แบบกรุงเทพฯ เรามาดูว่าในกรุงเทพฯมีสวนที่ไหนบ้าง

1. สวนหลวง ร.๙

เป็นสวนสาธารณะและสวนพฤกษศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ อยู่ในแขวงหนองบอน เขตประเวศ ทางตะวันออกของกรุงเทพมหานคร จัดสร้างเพื่อสร้างเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในศุภมงคลสมัยเจริญพระชนมพรรษาครบรอบ 60 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยศาสตราจารย์กิตติคุณ เดชา บุญค้ำ เป็นประธานออกแบบงานภูมิทัศน์ ส่วนหอรัชมงคลซึ่งจัดเป็นสัญลักษณ์สำคัญของสวนหลวง ร.9 ได้รับการออกแบบโดย ม.ล.ตรีทศยุทธ เทวกุล

สวนหลวง ร.๙

2. สวนลุมพินี

สวนลุมพินี หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า สวนลุม เป็นสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทย เปิดให้บริการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 ตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 4 ล้อมรอบด้วยถนนวิทยุ ถนนราชดำริ และซอยสารสิน แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 7 ในที่ดินเดิมเนื้อที่ 360 ไร่ ณ ทุ่งศาลาแดง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสำหรับสร้าง “สยามรัฐพิพิธภัณฑ์” เพื่อจัดแสดงสินค้าไทยเป็นครั้งแรก และจัดให้เป็น “สวนสาธารณะ” สำหรับประชาชน พร้อมทั้งพระราชทานนามว่า “สวนลุมพินี” ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าในประเทศเนปาล แต่พระองค์เสด็จสวรรคตก่อนจึงไม่แล้วเสร็จ

 สวนลุมพินี

3. สวนเบญจกิติ

สวนเบญจกิติ (Benchakitti Park) เป็นสวนสาธารณะเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวาระพระชนมายุครบ 60 พรรษาเมื่อปี พ.ศ. 2535 ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่โรงงานยาสูบเดิม ข้างศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ถนนรัชดาภิเษกช่วงระหว่างถนนพระรามที่ 4 กับ ถนนสุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร
สวนเบญจกิติ เป็นการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ “บึงยาสูบ” ขนาด 200×800 เมตร ที่เกิดจากการขุดดินถมที่ บริเวณอาคารโรงงานยาสูบ โครงการสวนสาธารณะนี้เป็นส่วนของโครงการพัฒนาพื้นที่ทดแทนโรงงานยาสูบระยะที่ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีในรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุน ที่ให้ย้ายโรงงานยาสูบออกไปนอกกรุงเทพมหานคร
ชื่อสวนเบญจกิติได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ มาทรงทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2547

สวนเบญจกิติ

 

4.สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)

สวนวชิรเบญจทัศ หรือที่นิยมเรียกว่า สวนรถไฟ เป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ มีเนื้อที่กว่า 375 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนกำแพงเพชร 3 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ติดกับสวนสาธารณะอีก 2 สวน คือ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และสวนจตุจักร อยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร (กทม.) และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)

สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)

 

5. สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนกำแพงเพชร 2 อยู่ติดกับสวนจตุจักรและสวนวชิรเบญจทัศ สร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถครบ 5 รอบ ซึ่งตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535 โครงการนี้ริเริ่มโดยคณะรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2534 เปิดเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2539 มีพื้นที่ระยะแรก 140 ไร่ (0.22 ตร.กม.) โครงการระยะที่สองจะเพิ่มพื้นที่อีก 60 ไร่ในอนาคต

 สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

 

6.สวนจตุจักร

ปี พ.ศ. 2518 การรถไฟแห่งประเทศไทยได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน 100ไร่ เพื่อสร้างสวนสาธารณะตามพระราชประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ หรือ 48 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งเมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามของสวนแห่งนี้ว่า “สวนจตุจักร” (ซึ่งเป็นชื่อภาษาสันสกฤต มีความหมายว่า “สี่รอบ”) สวนจตุจักรเปิดทำการในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2523 สวนจตุจักร เป็นสวนสาธารณะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร ทิศตะวันออกจรดถนนพหลโยธิน ทิศเหนือจรดถนนวิภาวดีรังสิต ทิศตะวันตกและทิศใต้จรดถนนกำแพงเพชร 3

สวนจตุจักร

 

7. สวนสราญรมย์

สวนสราญรมย์ หรือ พระราชอุทยานสราญรมย์ เป็นสวนสาธารณะ อยู่ตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังไปทางทิศตะวันออก
เดิมสวนสราญรมย์เป็นเขตพระราชอุทยานของพระราชวังสราญรมย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2409 สวนสราญรมย์ก่อสร้างขึ้นในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. 2417 ตามคำแนะนำของเฮนรี อาลาบาศเตอร์ โปรดเกล้าฯ ให้มิสเตอร์เฮนรี อาลาบาศเตอร์ เป็นผู้ออกแบบและจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์ตามแบบอย่างในต่างประเทศ เมื่อเสด็จไปที่ใด พบพันธุ์ไม้แปลก ๆ ก็โปรดให้นำมาปลูกเพิ่มเติมที่สวนสราญรมย์อยู่เสมอ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใช้เป็นสถานที่จัดงานฤดูหนาว ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้กับรัฐบาล ใช้เป็นที่ทำการของคณะราษฎร
เมื่อ พ.ศ. 2503 คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบสวนสราญรมย์ ให้แก่กรุงเทพมหานคร เพื่อปรับปรุงเป็นสวนสาธารณะแก่ประชาชนทั่วไป

 สวนสราญรมย์

 

8. สวนสันติชัยปราการ

สวนสาธารณะสันติชัยปราการ เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชนเมือง สร้างบนพื้นที่ประมาณ 8 ไร่เศษ บริเวณโดยรอบป้อมพระสุเมรุ ซึ่งตั้งอยู่ที่ช่วงปลายถนนพระอาทิตย์ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาตรงปากคลองบางลำพู สวนแห่งนี้จัดสร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลสมัย เฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โดยภายในบริเวณสวนมี พระที่นั่งสันติชัยปราการ ที่มีตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติมาประดับไว้ พร้อมกับท่ารับเสด็จขึ้นลงเรือพระที่นั่ง เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นที่จัดพระราชประเพณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแม่น้ำเจ้าพระยา
สวนแห่งนี้มีทัศนียภาพของคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยงามมาก นับเป็นสวนสาธารณะเพียงไม่กี่แห่งของกรุงเทพมหานคร ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ชื่นชมบรรยากาศริมแม่น้ำ และสามารถชมกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคในพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินได้อย่างชัดเจน
สวนสาธารณะสันติชัยปราการ นับเป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาเมืองเก่าที่มีประวัติศาสตร์และโบราณสถาน นับเป็นนันทนสถานเอนกประสงค์ที่ได้ประโยชน์ใช้สอยทั้งด้านการพักผ่อนหย่อนใจ การศึกษา และการอนุรักษ์ (ป้อมพระสุเมรุ) พื้นที่โดยรอยได้รับการออกแบบให้สามารถใช้เป็นที่ออกกำลังกายได้หลายประเภท เช่น การเต้นแอโรบิค รำมวยจีน สามารถเป็นสถานที่จัดงานของท้องถิ่นและรัฐบาล เช่น พิธีต้อนรับแขกจากต่างประเทศ รวมทั้งด้านวัฒนธรรม เช่น พิธีลอยกระทง สงกรานต์ เป็นต้น

สวนสันติชัยปราการ

 

9. สวนรมณีนาถ

สวนรมณีนาถ หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า คุกเก่า เป็นสวนสาธารณะที่จัดสร้างขึ้นใหม่ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่มีพระชนมายุ 60 พรรษา พ.ศ. 2535 และได้รับพระราชทานนามว่า “รมณีนาถ” ซึ่งมีความหมายว่า “นางผู้เป็นที่พึ่ง” ตั้งอยู่บริเวณเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเดิม ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฏร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งหมด 29 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา
พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการปรับปรุงทัณฑสถานวัยหนุ่มบางเขน หรือ “เรือนจำกลางคลองเปรม” และได้ย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครมาควบคุมรวมกัน และให้ปรับปรุงพื้นที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเป็นสวนสาธารณะ จากการที่สวนรมณีนาถได้ดัดแปลงมาจากเรือนจำ ภายในบริเวณสวนจึงยังคงอนุรักษ์แนวรั้วกำแพง ป้อมยาม ซุ้มประตูทางเข้าไว้เป็นสัญลักษณ์ และเป็นส่วนประกอบของสวน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสวนรมณีนาถ และพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2542

สวนรมณีนาถ

สวนรมณีนาถ

10.สวนเสรีไทย

เดิม “ บึงกุ่ม” หรือ “ บึงตาทอง” เป็นบึงสาธารณะเก่าแก่ขนาดใหญ่ที่ถูกรุกล้ำจนมีสภาพตื้นเขิน ในปี พ.ศ. 2528 เริ่มมีการปรับปรุงและพัฒนาบึงกุ่มตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการจัดหาพื้นที่เก็บกักน้ำเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ (โครงการแก้มลิง) ให้เป็นบึงรับน้ำจนสามารถรองรับน้ำได้ถึง 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมประตูระบายน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำ และระบายสู่คลองบึงกุ่ม ต่อเนื่องสู่คลองแสนแสบต่อไป[2] ต่อมาได้มีการพัฒนาขยายพื้นที่ สร้างเป็นสวนสาธารณะ และสวนป่าตามโครงการสวนป่ากทม. เฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในชื่อว่า “สวนน้ำบึงกุ่ม”
ในปีพ.ศ. 2538 สมาชิกขบวนการเสรีไทยได้ขอสถานที่ส่วนหนึ่งของสวนน้ำบึงกุ่มจัดเป็น “ลานเสรีไทย” และมีพิธีเปิดลานเสรีไทยเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2538 ต่อมาคุณดุษฎี พนมยงค์ ซึ่งเป็นทายาทของหัวหน้าขบวนการเสรีไทย พร้อมคณะ ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อ สวนน้ำบึงกุ่มเป็น “สวนเสรีไทย” เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานแก่ขบวนการเสรีไทย และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งตรง กับวันครบรอบ 52 ปีแห่งการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2[3]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2542 กรุงเทพมหานครร่วมกับคณะกรรมการโครงการฉลองครบรอบ 100 ปีชาตกาล นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ได้ร่วมจัดงาน “วันสันติภาพไทย” เพื่อเป็นการรำลึกถึงการประกาศสันติภาพไทยในวาระครบรอบ 54 ปี และเป็นการประกาศเกียรติคุณแก่ขบวนการเสรีไทยที่ได้ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ จึงมีการก่อสร้าง “อาคารเสรีไทยอนุสรณ์” โดยจำลองแบบมาจาก “ทำเนียบท่าช้าง” หรือบ้านเลขที่ 19 ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร กทม. ซึ่งเคยเป็นที่พำนักของนายปรีดี พนมยงค์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย ทำเนียบท่าช้างจึงเป็นเสมือนกองบัญชาการของขบวนการเสรีไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2[4] มีพิธีเปิด “อาคารเสรีไทยอนุสรณ์” เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2546

สวนเสรีไทย

 

 

 

 

วิธีการ, เรื่องน่ารู้  |   ,
ล้อแม็กLenso ผู้ผลิต ล้อแม็ก ยอดขายอันดับ 1 ในประเทศไทย